การศึกษา

บทความทางการศึกษา

การศึกษา

บทความทางการศึกษา

นวัตกรรมทางการศึกษา

บทความด้านนวัตกรรมทางการศึกษา

เทคนิคการสอนเด็กเล็ก

บทความด้านเทคนิคการสอนเด็กเล็ก

แชร์ประสบการณ์

อีกส่วนหนึ่งของประสบการณ์สอนของครูกัน

วันพฤหัสบดีที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

อาหารที่มีโทษเป็นพิษภัยแก่เด็ก


ปัจจุบันอาหารสำเร็จรูปสำหรับริโภคมีมากมายในตลาด ซึ่งผู้ผลิตคำนึงถึงความสะดวกของผู้บริโภคเป็นหลัก สามารถเก็บไว้ได้นานเป็นเดือน เป็นปี ในทุกอุณหภูมิ มีรสชาติถูกปากผู้บริโภค ผู้ผลิตได้โฆษณาชวนเชื่อ เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความเชื่อว่า อาหารนั้นๆดี มีคุณค่า อร่อย ทันสมัย หากผู้บริโภคหลงเชื่อโดยมิได้ไตร่ตรอง หรือขาด ความรู้ด้านโภชนาการ ก็จะรับประทานอาหารนั้นจนลืมคิดไปว่าการที่จะทำให้อาหารนั้นๆ คงสภาพความอร่อย ความหอม ความมัน ความหวาน คงสีสันไว้ได้ตลอด ต้องอาศัยสารเคมีช่วยในการปรุงแต่งรูป รส กลิ่น และสี ให้คงเดิม วัตถุที่มีผสมอยู่ในอาหารเหล่านี้ เมื่อเข้าสู่ร่างกาย หรือเมื่อมีการสะสมก็จะเป็นอันตรายแก่เด็กได้
 เด็กปฐมวัยจึงเป็นเป้าหมาย เป็นตลาดอันสำคัญยิ่งของผู้ผลิตเหล่านี้ เนื่องจากเด็กยังไม่มี ข้อมูลเพียงพอที่จะตัดสินใจเองได้ จึงมักเชื่อตามโฆษณาและความนิยมของเพื่อนๆ เป็นความจำเป็นอย่างยิ่งยวด ที่ผู้เลี้ยงดูเด็กจะต้องตระหนักถึงพิษภัยร้ายกาจของอาหารเหล่านี้ โดยร่วมมือกับพ่อแม่ผู้ปกครองช่วยกัน ให้ความรู้แก่เด็ก และไม่จัดอาหารเหล่านี้ให้แก่เด็ก เพื่อป้องกันโรคภัยไข้เจ็บที่จะตามมา
 สิ่งที่ผู้ผลิตตั้งใจใส่ในอาหารสำเร็จรูปเหล่านี้ เราเรียกว่า “วัตถุเจือปนอาหาร” เช่น กรดน้ำส้ม สารให้ความหวาน สีผสมอาหาร ผงชูรส เป็นต้น
 ส่วนวัตถุที่พบปะปนหรือสารเคมีผู้ผลิตไม่ได้ตั้งใจใส่ในอาหารเหล่านี้ เรียกว่า “วัตถุปนเปื้อน” เช่น ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง เป็นต้น
 สารเคมีที่ผู้ผลิตใช้ใส่ลงในอาหารมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. การใช้วัตถุกันเสีย
2. การใช้วัตถุกันหืน
3. การเพิ่มสีสันให้น่าสนใจ
4. การปรุงแต่งกลิ่น รสอาหาร



1. การใช้วัตถุกันเสีย
อาหารสำเร็จรูปจะต้องมีคุณสมบัติที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การเก็บไว้ได้นานโดยไม่เสีย ดังนั้น ผู้ผลิตจึงจำเป็นต้องยับยั้งการเกิดจุลินทรีย์และแบคทีเรียในอาหาร ที่จะทำปฏิกริยาให้เกิดการบูดเน่า โดยใช้วัตถุกันเสีย เช่น กรดเบนโซอิก น้ำเชื่อม อาหารหมักดอง เป็นต้น บางครั้งใช้กรดซอร์บิคยับยั้งการเติบโตของ ยีสต์และราในเนยเทียม แป้งเค้ก ในไนไตรท์และไนเตรทป้องกันการเน่าเสียของผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ทุกชนิด เช่น ไส้กรอก เนื้อต่างๆ



2. การใช้วัตถุกันหืน
วัตถุกันหืน จะใส่ในอาหารประเภทแป้ง ไขมัน และโปรตีนที่เมื่อถูกออกซิเจนนานๆ จะเกิดกลิ่นหืน รสของอาหารเปลี่ยนไป วัตถุกันหืนจะเข้าไปขวางการเกิดกลไกของอาหารจะใส่ในอาหารที่ได้จากธัญพืช มันฝรั่ง บะหมี่ สำเร็จรูป หมากฝรั่ง โดนัท อาหารที่ผ่านการทอด เช่น มันฝรั่งกรอบ แป้งทอดกรอบรสต่างๆ


3. การเพิ่มสีสันให้น่าสนใจ
การเพิ่มสีสันให้น่าสนใจ เพื่อให้อาหารมีลักษณะเป็นที่น่าสนใจของผู้บริโภคและเพิ่มความสวยงาม ในอาหารสำหรับเด็ก จะยิ่งใช้สีสันเพื่อล่อตาเด็ก การใช้สีผสมอาหาร มีตั้งแต่ใส่ในเครื่องดื่มหรืออาหารที่ไม่มีสีให้มีสีสัน เช่น เครื่องดื่มผง รสต่างๆ ไอศกรีม แยม เยลลี่ อาหารว่างประเภทกรุบกรอง ลูกกวาดสีต่างๆ ไส้กรอก น้ำเชื่อมสีต่างๆ อาจ แบ่งชนิดสีผสมอาหารออกได้เป็น 2 ประเภท คือ


1) สีธรรมชาติที่ได้จากพืชหรือสัตว์
 เป็นสีที่ต้องมีกรรมวิธีในการได้มา เช่น สีเขียวจากการคั้นน้ำ ใบเตย สีม่วงและสีน้ำเงินจากกลีบดอกอัญชัญ สีแดงจากดอกกระเจี๊ยบหรือครั่ง สีเหลืองจากขมิ้น สีเหล่านี้ ไม่มีอันตราย แต่ต้องเสียเวลาในการทำขึ้นมาใช้เอง ไม่เป็นที่นิยมใส่ในอาหารสำเร็จรูปที่ต้องเก็บไว้นาน เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงทางเคมี







2) สีสังเคราะห์
 ได้จากการสังเคราะห์สารเคมีจะมีสีสดกว่าและให้สีสม่ำเสมอ รวมทั้งสามารถ ใช้ได้อย่างสะดวกกว่า มีการเปลี่ยนแปลงทางเคมีน้อยมาก ในการใช้ต้องใช้ในปริมาณที่กำหนดอย่งเครี่งครัด ห้ามใช้ในอาหารสำหรับเด็กทารกทุกชนิด และอาหารเสริมสำหรับเด็ก แต่ปัจจุบันพ่อแม่หรือผู้ปกครองรู้ เท่าไม่ถึงการณ์ มักจะจัดหาอาหารที่ใส่สีสังเหคระห์ให้เด็ก โดยยึดความสะดวกสบายและหลงเชื่อในโฆษณา ทำให้เด็กปฐมวัยได้รับสีสังเคราะห์เหล่านี้ปริมาณมากในแต่ละวันต่อเนื่องกันในระยะเวลานาน






4. การปรุงแต่งกลิ่น รสอาหาร
อาหารสำเร็จรูปบางครั้งอาจผลิตขึ้นมาเลียนแบบอาหารที่มาจากธรรมชาติ เช่น เยลลี่กลิ่นรสต่างๆ แต่เดิมเยลลี่จะไม่มีรสไม่มีกลิ่น แต่เพื่อดึงดูความสนใจของเด็กผู้ผลิตก็จะเติมกลิ่นหรือรสต่างๆ ที่ต้องการเป็นที่ ถูกใจของผู้บริโภค สามารถแบ่งสารปรุงแต่กลิ่นรสอาหารได้ 2 ประเภท

1) สารปรุงแต่งกลิ่นรสที่ได้จากธรรมชาติ
 เช่น เครื่องเทศต่างๆ พริก น้ำมันหอมระเหยจากพืช เช่น เบปเปอร์มิ้นต์ หรือสารละลายกลิ่นรสที่ได้จากการผ่านแอลกอฮอล์ เช่น สารสกัดวานิลา สารสกัดจากส้ม สารปรุงแต่งจากพืชเหล่านี้จะไม่มีอันตรายหากใช้ในปริมาณที่จำกัด และมีความเข้มข้นของกลิ่นและรสค่อนข้างอ่อน







2) สารปรุงแต่งกลิ่นรสที่ได้จากการสกัดจากสารเคมี
 จะเป็นการใช้กรรมวิธีทางเคมีในการ สังเคราะห์ขึ้นมาจากสารเคมีต่างๆ เป็นที่นิยมเพราะมีความเข้มข้นของกลิ่นและรสตามความต้องการ และไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาก เมื่อต้องการเก็บไว้ในระยะเวลานานๆ แต่ต้องใช้ในปริมาณที่จำกัด เนื่องจากเป็นสารเคมี หากผู้ผลิตไม่ระมัดระวังหรือไม่คำนึงถึงข้อนี้ อาจเกิดการสะสมของสารเคมีในปริมาณ ที่มากเกินไปจนส่งผลเสียต่อร่างกายของเด็กได้ เช่น





 กลิ่นควันไฟในไส้กรอกต่างๆ
 กลิ่นรสในลูกกวาดต่างๆ เช่น การสังเคราะห์ที่ให้ความหวานในลูกกวาด หรือน้ำผลไม้ไม่ใส่สี เยลลี่


สารเหล่านี้ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ ผู้ผลิตจะใส่เพื่อเพิ่มความหวานโดยใช้สารเคมีชื่อแซคคารีน มีลักษณะเป็นผลึกสีขาว ไม่มีกลิ่น มีรสหวาน ในการสังเกคราะห์จะมีสารประเภทโลหะเจือปนอยู่ เมื่อนำมาใส่ในอาหารเพื่อเพิ่มความหวาน จะเร่งให้อาหาร บูดเสีย โดยมีจุลินทรีย์เร็วขึ้น ผู้ผลิตจำต้องเพิ่มปริมาณวัตถุกันเสียมากยิ่งขึ้น

 สารปรุงแต่งรสที่สำคัญอีกประเภทหนึ่ง คือ สารชูรสที่เราเรียกว่า "ผงชูรส” สารชูรส หมายถึง สารเคมีที่เติมลงไปในอาหารแล้วสามารถเสริมกลิ่นรสของอาหารเดิมให้ดีขึ้น รู้จักกันในชื่อของผงชูรส ชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า “โมโนโซเดียมกลูตาเมต” ซึ่งผลิตมาจากน้ำตาลหรือแป้ง

สารอาหารที่จำเป็นต่อพัฒนาการ : อาหาร 5 หมู่



หลักของโภชนาการได้จัดแบ่งอาหารออกเป็นหมู่ได้ 5 หมู่ ได้แก่
อาหารหมู่ที่ 1 เนื้อสัตว์ต่างๆ ถั่วเมล็ดแห้ง ช่วยสร้างเสริมและซ่อมแซมอวัยวะต่างๆ
อาหารหมู่ที่ 2 ข้าว หัวเผือก หัวมัน แป้ง น้ำตาล ให้พลังงานความอบอุ่น
อาหารหมู่ที่ 3 ผักใบเขียวและพืชผักต่างๆ ให้วิตามิน เกลือแร่และเส้นใย
อาหารหมู่ที่ 4 ผลไม้ต่างๆ ให้วิตามินและเกลือแร่
อาหารหมู่ที่ 5 ไขมัน น้ำมันจากพืชและสัตว์ ให้พลังงานและความอบอุ่น

 การจัดอาหารที่มีคุณค่าตามหลักโภชนาการให้แก่เด็ก จะส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กได้ ซึ่งเด็กต้องได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน เพราะสารอาหารในแต่ละหมู่ต่างมีคุณค่า และประโยชน์ ต่อพัฒนาการในทุกๆด้าน เรามาศึกษากันว่าในอาหารหลักแต่ละหมู่นั้น มีอาหารชนิดใด และแต่ละหมู่ให้สารอาหาร มีหน้าที่ คุณประโยชน์ที่สำคัญแก่ร่างกาย อย่างไรบ้าง
 
 
 
อาหารหลักหมู่ที่  1เนื้อ ไข่ นม และถั่ว ให้สารอาหารมากที่สุดคือ วิตามินและเกลือแร่
มีหน้าที่สำคัญ เสริมสร้างและซ่อมแซมส่วนต่างๆ ของร่างกาย
ได้แก่ อาหาร เนื้อสัตว์ต่างๆ เช่น หมู วัว ควาย เป็ด ไก่ ปลา กุ้ง หอย กบ ฯลฯ
เครื่องในสัตว์ เช่น ตับ ไต ปอด หัวใจ
ไข่ต่างๆ เช่น ไข่เป็ด ไข่ไก่ ไข่นก
ถั่วเมล็ดแห้งต่างๆ เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง ฯลฯ
และอาหาร ซึ่งทำจากถั่ว เช่น นมถั่ว เหลือง เต้าหู้ เต้าเจี้ยว เต้าฮวย ฯลฯ
นม เช่น นมวัว นมแพะ และผลิตภัณฑ์จากนม เช่นเนยเหลว เนยแข็ง
ให้ประโยชน์ เสริมสร้างและซ่อมแซมกล้ามเนื้อ กระดูกโลหิต ฯลฯ
สร้างภูมิต้านทานโรค อาหารทะเล ช่วยป้องกันโรคคอพอก
เป็นส่วนประกอบของน้ำย่อยและฮอร์โมนช่วยควบคุมการทำงานของอวัยวะ ต่างๆเช่น การย่อย การดูดซึม การหายใจ ฯลฯ
ให้พลังงาน ในกรณีที่ร่างกายได้รับสารอาหารคาร์โบไฮเดรตไม่เพียงพอ
เครื่องในสัตว์ ช่วยสร้างและบำรุงโลหิตเด็กที่อยู่ในวัยเจริญเติบโตต้องการ อาหารหมู่นี้มาก


 

อาหารหลักหมู่ที่ 2ข้าว เผือก มัน และน้ำตาล ให้สารอาหารมากที่สุดคือ คาร์โบไฮเดรต
มีหน้าที่สำคัญ ให้พลังงานและความอบอุ่นควบคุมการทำงานของร่างกายให้ปกติ
ได้แก่ อาหาร ข้าวต่างๆ เช่น ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว ข้าวโพด ข้าวโอ๊ต ข้าวสลี ฯลฯ
แป้งต่างๆ เช่น แป้ง ข้าวเจ้า แป้งข้าวเหนียว แป้งมันสำปะหลัง ฯลฯ
ผลิตภัณฑ์จากแป้ง เช่น ขนมปัง ก๋วย เตี๋ยว ขนมจีน บะหมี่ ฯลฯ
เผือก มัน ชนิด ต่างๆ
น้ำตาลต่างๆ เช่น น้ำตาลทราย น้ำ ตาล อ้อย น้ำตาลมะพราว ฯลฯ
ให้ประโยชน์ ให้กำลังงานและความอบอุ่นแก่ร่างกาย ทำให้สามารถเคลื่อนไหว เล่น ทำงาน และ มีชีวิตอยู่ได้อย่างปกติ




อาหารหลักหมู่ที่ 3ผักใบเขียว พืชผักอื่นๆ ให้สารอาหารมากที่สุดคือ วิตามินและเกลือแร
มีหน้าที่สำคัญ ให้พลังงานและความอบอุ่นควบคุมการทำงานของร่างกายให้ปกติ
ได้แก่ อาหาร ผักใบเขียวต่างๆ เช่น ผักบุ้ง ตำลึง คะน้า โขม กวางตุ้ง ขึ้นฉ่าย ผักชี ฯลฯ
ผักอื่นๆ เช่น ฟักทอง มะเขือเทศ ถั่วฝักยาว ดอกกะหล่ำ แครอท บวบฯลฯ
ให้ประโยชน์ บำรุงสุขภาพทั่วไปให้สมบูรณ์แข็งแรง
บำรุงสุขภาพของผิวหนัง นัยน์ตา เหงือกและฟัน
สร้างและบำรุงโลหิตช่วยให้ร่างกายใช้ประโยชน์จากอาหารต่างๆได้เต็มที่
ช่วยให้มีการขับถ่ายสะดวก




อาหารหลักหมู่ที่ 4ผลไม้ต่างๆ ให้สารอาหารมากที่สุดคือ วิตามินและเกลือแร
มีหน้าที่สำคัญ ควบคุมการทำงานของร่างกาย ให้ปกต
ได้แก่ อาหาร ส้ม กล้วย มะละกอสุก มะม่วง ฝรั่ง สับปะรด ชมพู่ แตงโม ฯลฯ
ให้ประโยชน์ ช่วยบำรุงสุขภาพและป้องกันโรคต่างๆ
ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตและสดชื่อ สมบูรณ์
บำรุงสุขภาพของผิวหนัง นันย์ตา เหงือกและฟัน
ช่วยให้การขับถ่ายสะดวก



อาหารหลักหมู่ที่ 5ไขมันจากสัตว์และพืช ให้สารอาหารมากที่สุดคือ ไขมัน
มีหน้าที่สำคัญ ให้พลังงานและความอบอุ่น
ได้แก่ อาหาร ไขมันจากสัตว์ เช่น มันหมู มันวัว มันปลา น้ำมันหอย ฯลฯ
ไขมันจากพืช เช่น กะทิ น้ำมันมะพร้าว น้ำ มันงา น้ำมันถั่ว น้ำมันรำ น้ำมันข้าวโพด
ให้ประโยชน์ - ให้กำลังงานและความอบอุ่น ทำให้สามารถเคลื่อนไหวและมีกำลังงาน ในการทำกิจกรรมต่างๆ



วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

สภาพแวดล้อมภายนอกห้องเรียน

สภาพแวดล้อมภายนอกห้องเรียน
คือการจัดสภาพแวดล้อมภายในบริเวณศูนย์ รวมทั้งเครื่องเล่นสนาม สนามเด็กเล่น ควรจะมีการจัดวาง ให้มีความห่างกันพอควร มีการดูแลรักษาความสะอาด มีการดูแลให้ความร่มรื่น และมีการจัดที่สำหรับติดข่าว ประชาสัมพันธ์ ผู้ปกครองและชุมชน ซึ่งสื่อต่างๆ ที่กล่าวนี้เป็นสิ่งที่ส่งผลต่อพัฒาการและการเรียนรู้ของเด็ก สภาพแวดล้อมภายนอกห้องเรียน ควรจัดให้มีบริเวณสนามเด็กเล่น บริเวณธรรมชาติ และบริเวณที่นั่งพักผ่อน


บริเวณสนามเด็กเล่น
ควรจัดให้มีพื้นที่สำหรับเล่น ทั้งในที่ร่มและที่โล่งแจ้ง มีอุปกรณ์การเล่น เครื่องเล่นสนาม เช่น ที่ปีนป่าย ชิงช้า ที่เดินทรงตัว เป็นต้น มีพื้นที่สำหรับขุด มีที่เล่นน้ำ บ่อทราย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพของท้องถิ่น แต่ที่สำคัญคือ ต้องหมั่นควจตราเคลื่อนเล่นให้อยู่ในสภาพแข็งแรง ปลอดภัยอยู่เสมอ รวมทั้งมีการรักษาความสะอาด


บริเวณธรรมชาติ
หากภายในศูนย์มีพื้นที่และบริเวณที่สามารถจัดปลูกพืชได้ ควรจะทำการปลูกพืช โดยเฉพาะพืชผักสวนครัว โดยให้เด็กช่วยกันดูแลรับผิดชอบในเรื่องการรดน้ำพรวนดิน เพื่อเป็นการปลูกฝังความรับผิดชอบ


บริเวณที่นั่งพักผ่อน
ควรจัดที่นั่งไว้ใต้ต้นไม้ที่มีร่มเงา ครูอาจเปลี่ยนสถานที่จัดกิจกรรมจากภายใน ห้องเรียนออกมาใช้บริเวณดังกล่าว เช่น กิจกรรมเสริมประสบการณ์ ครูอาจมาเล่านิทานให้เด็กฟังใต้ร่มเงาไม้ ซึ่งเด็ก จะมีความสนใจข มีความกระตือรือร้นมากขึ้น

กิจกรรมเสรี



กิจกรรมเสรีเป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กเล่นอย่างอิสระตามมุมการเล่น หรือมุมประสบการณ์ หรือศูนย์การเรียนที่จัดไว้ภายในห้องเรียน เช่น มุมบล็อก มุมหนังสือ มุมวิทยาศาสตร์ มุมธรรมชาติ มุมเครื่องเล่นสัมผัส เป็นต้น มุมต่าง ๆ เหล่านี้เด็กมีโอกาสเลือกเล่นได้อย่างอิสระตามความสนใจและความต้องการของเด็ก ซึ่งในการเล่นตามุมนี้ เด็กอาจจะเล่นคนเดียว หรือเล่นเป็นกลุ่มย่อยก็ได้



วัตถุประสงค์
1.ส่งเสริมพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อใหญ่ กล้ามเนื้อเล็ก และประสาทสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
2.ส่งเสริมให้เด็กพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
3.ฝึกให้เด็กมีความรับผิดชอบในการทำงานและความมีระเบียบวินัย
4.ฝึกและส่งเสริมให้เด็กรู้จักคิดแก้ปัญหา การคิดอย่างมีเหตุผล
5.ส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาและให้เด็กมีนิสัยรักการอ่าน
6.เพื่อส่งเสริมให้เด็กพัฒนาทางด้านภาษาและทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
7.ส่งเสริมให้เด็กรู้จักคิด วางแผน และตัดสินใจในการทำกิจกรรม
8.ส่งเสริมให้เด็กรู้จักปรับตัวในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น รู้จักรอคอย เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และให้อภัย
9.ส่งเสริมให้เด็กมีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน ๆ และสิ่งแวดล้อม

ขอบข่ายเนื้อหา
1.แนะนำมุมเล่นใหม่ให้เด็กรู้จักและเสนอแนะวิธีใช้/เล่นเครื่องเล่นบางชนิด เช่น แว่นขยาย เครื่องชั่ง เครื่องเล่นสัมผัสบางชนิด ฯลฯ
2.เด็กและผู้เลี้ยงดูเด็กร่วมสร้างข้อตกลงเกี่ยวกับการเล่น เช่น
  • ไม่นำของเล่นแต่ละมุมมาเล่นป่นกัน
  • เก็บของเล่นเข้าที่ทุกครั้งเมื่อจะเปลี่ยนไปเล่นชนิดอื่น
  • ตกลงสัญญาณก่อนหมดเวลาเล่น เพื่อเตรียมเก็บของเข้าที่ เช่นการบอกเตือนด้วยวาจา การใช้เพลง ฯลฯ
3.ผู้เลี้ยงดูเด็กเปิดโอกาสให้เด็กคิด วางแผนตัดสินใจเลือกเล่นอย่างอิสระในมุมเลน หรือเลือกทำกิจกรรมที่จัดขึ้นตามความสนใจของเด็กแต่ละคน ขณะเด็กเล่น/ทำงาน ผู้เลี้ยงดูเด็กอาจชี้แนะและมีส่วนร่วมในการเล่นกับเด็กได้ หากพบว่าเด็กต้องการความช่วยเหลือ และคอยสังเกตพฤติกรรมการเล่นของเด็กพร้อมทั้งจดบันทึกพฤติกรรมที่น่าสนใจเพื่อดูว่าเด็กมีพัฒนาการแต่ละด้านเป็นอย่างไร
4.เตือนให้เด็กทราบล่วงหน้าก่อนหมดเวลาเล่นประมาณ 5-10 นาที
5.ให้เด็กเก็บของเล่นเข้าที่ให้เรียบร้อยทุกครั้งเมื่อเสร็จสิ้นกิจกรรม



แนวทางการประเมิน
1.สังเกตพฤติกรรมการเล่น
2.สังเกตการปรับตัวด้วยขณะเล่นน่วมกันกับเพื่อน
3.สังเกตความสนใจในการเล่น
4.สังเกตการใช้ภาษาสื่อสารกับเพื่อและผู้เลี้ยงดูเด็ก
5.สังเกตความรับผิดชอบในการจัดเก็บของเล่น

ข้อเสนอแนะ
1.การจัดกิจกรรมเสรี อาจจัดได้หลายลักษณะ เช่น
  • จัดกิจกรรมเสรีโดยเปิดโอกาสห้เด็กเลือกทำกิจกรรมสร้างสรรค์และเล่นตามมุมเล่นในช่วงเวลาเดียวกันอย่างอิสระ
  • จัดกิจกรรมเสรีโดยเน้นให้เด็กเลือกทำกิจกรรมสร้างสรรค์ อย่างน้อย 1-2 อย่าง หรือตามข้อตกลงในแต่ละวัน
  • จัดกิจกรรมเสรีโดยการจัดมุมศิลปะหรือศูนย์ศิลปะให้เป็นส่วนหนึ่งของมุมเล่นหรือศูนย์การเรียน ฯลฯ
 2.ขณะเด็กเล่น ผู้เลี้ยงดูเด็กต้องคอยสังเกตความสนใจในการเล่นของเด็ก หากพบว่ามุมใดเด็กส่วนใหญ่ไม่สนใจที่จะเล่นแล้ว ควรสับเปลี่ยนจัดมุมเล่นใหม่ เช่น มุมบ้านอาจดัดแปลงเพิ่มเติม เปลี่ยนเป็นมุมร้านค้า มุมเสริมสวย มุมเกษตร มุมหมอ ฯลฯ
3.หากมุมใดมีจำนวนเด็กในมุมมากเกินไป ผู้เลี้ยงดูเด็กควรให้เด็กมีโอกาสแก้ปัญหา หรือผู้เลียงดูเด็กชักชวนให้แก้ปัญหาในการเลือกเล่นมุมใหม่
4.การเลือกเล่นมุมการเล่นมุมเดียวเป็นระนะเวลานาน อาจทำให้เด็กขาดประสบการณ์การเรียนรู้ด้านอื่น ผู้เลี้ยงดูเด็กควรชักชวนให้เด็กเลือกมุมอื่น ๆ ด้วย