กิจกรรมกลางแจ้ง
เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กออกไปนอกห้องเรียนไปสู่สนามเด็กเล่น ทั้งที่บริเวณกลางแจ้งและในร่ม เพื่อให้เด็กได้ออกกำลังเคลื่อนไหวและแสดงออกอย่างอิสระ โดยยึดความสนใจ ความสามารถของเด็กแต่ละคนเป็นหลักวัตถุประสงค์
1.ส่งเสริมให้เด็กมีร่างกายแข็งแรง สุขภาพดี
2.พัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ กล้ามเนื้อเล็ก ให้สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องแคล่ว
3.พัฒนาประสาทสัมพันธ์ระหว่างตากับมือ
4.ให้เกิดความสนุกสนาน ผ่อนคลายความเครียด
5.ให้มีความอยากรู้อยากเห็นสิ่งแวดล้อมรอบตัว
6.ให้รู้จักปรับตัวในการเล่นและทำงนร่วมกับผู้อื่น
7.ให้รู้จักระเบียบวินัย การรอคอย รวมทั้งการรู้จักระวังรักษาความปลอดภัยทั้งของตนเองและผู้อื่น
8.ให้รู้จักการตัดสินใจและแก้ปัญหาด้วยตนเอง
9.เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ต่าง ๆ เช่น การสังเกต การเปรียบเทียบ การจำแนก เป็นต้น
ขอบข่ายเนื้อหากิจกรรมกลางแจ้ง
ในการจัดกิจกรรมกลางแจ้งสำหรับเด็ก ผู้เลี้ยงดูเด็กสามารถจัดกิจกรรมต่าง ๆ อย่างหลากกลายให้กับเด็กได้กิจกรรมเนื้อหาต่อไปนี้เป็นแนวทางสำหรับผู้เลี้ยงดูเด็ก
การเล่นเครื่องเล่นสนาม
เครื่องเล่นสนาม หมายถึง เครื่องเล่นที่เด็กอาจปีนป่าย หมุน โยก ซึ่งทำออกมาในรูปแบบตาง ๆ เช่น
1. เครื่องเล่นสำหรับปีนป่ายหรือตาข่ายสำหรับปีนเล่น
2. เครื่องเล่นสำหรับโยกหรือไกว เช่น ม้าไม้ ชิงช้า ม้านั่งโยก ไม้กระดก ฯลฯ
3. เครื่องเล่นสำหรับหมุน เช่น ม้าหมุน พวงมาลัยรถสำหรับหมุนเล่น
4. ราวโหนขนาดเล็กสำหรับเด็ก
5. ต้นไม้สำหรับเดินทรงตัวหรือไม้กระดานแผ่นเดียว
6. เครื่องเล่นประเภทล้อเลื่อน เช่น รถสามล้อ รถลากจูง ฯลฯ
การเล่นทราย
ทรายเป็นสิ่งที่เด็ก ๆ ชอบเล่น ทั้งทรายแห้งและทราบเปียก นำมาก่อเป็นรูปต่าง ๆ ได้ และสามารถนำวัสดุอื่นมาประกอบการเล่นตกแต่งได้ เช่นกิ่งไม้ ดอกไม้ เปลือกหอย พิมพ์ขนม ที่ตักทราย ฯลฯ ปกติบ่อทรายจะอยู่กลางแจ้ง โดยอาจจัดให้อยู่ใต้ร่มเงาของต้นไม้ หรือสร้างหลังคา ทำขอบกั้น เพื่อมิให้ทรายกระจัดกระจายบางโอกาสอาจพรมน้ำให้ชื้นเพื่อเด็กจะได้ก่อเล่น นอกจากนี้ควรมีวิธีการปิดกั้นมิให้สัตว์เลี้ยงลงไปทำความสกปรกในบ่อทรายได้
การเล่นน้ำ
เด็กทั่วไปชอบเล่นน้ำมาก การเล่นน้ำนอกจากสร้างความพอใจและคลายความเครียดให้เด็กแล้ว ยังทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้อีกด้วย เช่น เรียนรู้ทักษะการสังเกต จำแนกเปรียบเทียบปริมาตร ฯลฯ อุปกรณ์ใส่น้ำ อาจเป็นถังที่สร้างขึ้นโดยเฉพาะหรืออ่างน้ำวางบนขาตั้งที่มั่นคง ความสูงพอที่เด็กจะยืนได้พอดี และควรมีผ้าพลาสติกกันเสื้อผ้าเปียกให้เด็กใช้คลุ่มระหว่างเล่น
การเล่นสมมติในบ้านตุ๊กตาหรือบ้านจำลอง
บ้านจำลองสำหรับให้เด็กเล่น จำลองแบบจากบ้านจริง ๆ อาจทำด้วยเศษวัสดุประเภทผ้าใบ กระสอบป่าน ของจริงที่ไม่ใช้แล้วเช่น หม้อ เตา ชาม อ่าง เตารีด เครื่องครัว ตุ๊กตา สมมติเป็นบุคคลในครอบครัว เสื้อผ้าผู้ใหญ่ที่ไม่ใช้แล้วสำหรับผลัดเปลี่ยน มีการตกแต่งบริเวณใกล้เคียงให้เหมือนบ้านจริง ๆ บางครั้งอาจจัดเป็นร้านขายของ สถานที่ทำการต่าง ๆ เพื่อให้เด็กเล่นสมมติตามจินตนาการของเด็กเอง
การเล่นในมุมช่างไม้
เด็กต้องการการออกกำลังในการเคาะ ตอก กิจกรรมการเล่นมุมช่างไม้นี้จะช่วยในการพัฒนากล้ามเนื้อให้แข็งแรงช่วยฝึกการใช้มือและการประสานสัมพันธ์ระหว่างสือกับตา นอกจากนี้ยังฝึกให้รักงานและส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์อีกด้วย
การเล่นกับอุปกรณ์กีฬา
เป็นการนำอุปกรณ์กัฬามาให้เก็กเล่นอย่างดิสระหรือใช้ประกอบเกมการเล่นที่ให้อิสระแก่เด็กให้มากที่สุด ไม่ควรเน้นการแข่งขันเพื่อมุ่งหวังแพ้-ชนะ อุปกรณ์กีฬาที่นิยมนำมาให้เด็กเล่น ลูกบอล ห่วงยาง ถุงทราย ฯลฯ
การเล่นเกมการละเล่น
กิจกรรมการเล่นเกมการละเล่นที่จัดให้เด็กเล่น เช่น เกมการละเล่นของไทย เกมการละเล่นของท้องถิ่น เช่น มอญช่อนผ้า รีรีข้าวสาร แม่งู โพงพาง ฯลฯ การละเล่นเหล่านี้ต้องใช้บริเวณที่กว้าง การเล่นอาจเล่นเป็นกลุ่มเล็ก/กลุ่มใหญ่ก็ได้ ก่อนเล่น ผู้เลี้ยงดูเด็กอธิบายกติกาและสาธิตให้เด็กเข้าใจ ไม่ควรนำเกมการละเล่นที่มีกติการยุ่งยากและเน้นการแข่งขันแพ้ชนะมาจักิจกรรมให้กับเด็กวัยนี้ เพราะเด็กจะเกิดความเครียดและสร้างความรู้สึกที่ไม่ดีต่อตนเอง
แนวทางการประเมิน
1.หมั่นตรวจตราเครื่องเล่นสนามและอุปกรณ์ประกอบให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยและใช้การได้ดีอยู่เสมอ
2.ให้โอกาสเด็กเลือกเล่นกลางแจ้งอย่างอิสระทุกวัน อย่างน้อยวันละ 30 นาที
3.ขณะเด็กเล่นกลางแจ้ง ผู้เลี้ยงดูเด็กต้องคอยดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อระมัดระวังความปลอดภัยในการเล่น หากพบว่าเด็กแสดงอาการเหนื่อย อ่อนล้า ควรให้เด็กหยุดพัก
4.ไม่ควรนำกิจกรรมพลศึกษาสำหรับเด็กระดับประถมศึกษาใช้สอนกับเด็กระดับก่อนประถมศึกษา เพราะยังไม่เหมาะสมกับวัย
5.หลังจากเลิกกิจกรรมกลางแจ้ง ควรให้เด็กได้พักผ่อนหรือสั่งพัก ไม่ควรให้เด็กรับประทานอาหารกลางวันหรือดื่มนมทันที เพราะอาจทำให้เด็กอาเจียนหรือเกิดอาการจุกแน่นได้
ข้อเสนอแนะ
1.สังเกตความสนใจในการเล่น
2.สังเกตพฤติกรรมการเล่น การออกกำลังกาย
3.สังเกตการปรับตัวในการเล่นร่วมกับผู้อื่น
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น