กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
หมายถึง กิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย ตามจังหวะอย่างอิสระ โดยจังหวะและดนตรีที่ใช้ประกอบได้แก่ เสียง-ทำนองเพลง เสียงปรบมือ เสียงเคาะไม้ กลอง รำมะนา คำคล้องจอง เป็นต้น มาประกอบการเคลื่อนไหว เพื่อส่งเสริมให้เด็กเกิดจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ เรียนรู้ จังหวะ และควบคุมการเคลื่อนไหวของตนเองได้
วัตถุประสงค์ของกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
1. พัฒนาอวัยวะทุกส่วนของร่างกายให้ได้เคลื่อนไหวอย่างสัมพันธ์กัน
2. ให้เด็กได้ผ่อนคลายความตึงเครียด
3. ให้เด็กได้รับประสบการณ์ ความสนุกสนาน รื่นเริง โดยผ่านกิจกรรมการเคลื่อนไหวที่หลากหลาย
4. สนองความต้องการตามธรรมชาติ ความสนใจและความพอใจของเด็ก
5. ให้เด็กเกิดความซาบซึ้งและมีสุนทรียภาพในการเคลื่อนไหวอย่างเสรีตามจังหวะ รวมทั้งเกิดทักษะ ในการฟังดนตรีหรือจังหวะต่างๆ
6. พัฒนาทักษะด้านสังคม การปรับตัว และความร่วมมือในกลุ่ม
7. ให้เด็กมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และให้เด็กได้มีโอกาสแสดงออกอย่างสร้างสรรค์
8. พัฒนาภาษา ฝึกฟังคำสั่งข้อตกลง และปฏิบัติตามได้
9. ฝึกการเป็นผู้นำผู้ตามที่ดี
ขอบข่ายเนื้อหาของกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ การเตรียมร่างกาย วิธีการศึกษาการเตรียมร่างกาย มี 2 ขั้น คือ 1. ให้รู้จักส่วนต่างๆ ของร่างกายว่าชื่ออะไร อยู่ตรงไหน และมีส่วนใดบ้างที่เคลื่อนไหวได้มากน้อย เพียงใด 2. ขณะเคลื่อนไหว ควรฝึกให้เด็กรู้ตัวว่าร่างกายหรืออวัยวะส่วนใดกำลังเคลื่อนไหวหรือทำอะไรอยู่ การเคลื่อนไหวพื้นฐาน การเคลื่อนไหวพื้นฐานแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. การเคลื่อนไหวอยู่กับที่ ได้แก่ การเคลื่อนไหวส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ณ จุดใดจุดหนึ่ง โดย ร่างกายจะไม่เคลื่อนออกไปจากจุดนั้นเลย 2. การเคลื่อนไหวที่เคลื่อนที่ ได้แก่ การเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง ได้แก่ การเดิน การวิ่ง การ กระโดด ฯลฯ ตัวอย่างการฝึกการเคลื่อนไหวพื้นฐาน 1.การเคลื่อนไหวอยู่กับที่ ตัวอย่างกิจกรรม เช่น 1) ก้มศรีรษะ กลับตั้งตรง หงายศีรษะไปข้างหลัง กลบสู่ท่าตรง 2) เหยียดแขนทั้งสองไปข้างหน้า ชูขึ้น กางออกแล้วกลับสู่ท่าตรง 3) ยกมือทั้งสองแตะไหล่ ชูมือขึ้น กางออกแล้วกลับสู่ท่าตรง 4) เคลื่อนไหวอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งอย่างอิสระ เมื่อได้ยินสัญญาณ ให้เปลี่ยนท่าใหม่โดย ไม่ให้ซ้ำกัน 2.การเคลื่อนไหวเคลื่อนที่ 1) การเดิน ตัวอย่างกิจกรรม เช่น - เดินไปรอบๆ บริเวณ โดยระวังไม่ให้ชนกัน - เดินจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง ให้จำนวนก้าวน้อยครั้งที่สุด ฯลฯ 2) การวิ่ง ตัวอย่างกิจกรรม เช่น - วิ่งไปให้ทั่วบริเวณโดยไม่ให้ชนกัน - วิ่งไปข้างหน้าแล้ววิ่งถอยหลัง เมื่อได้ยินสัญญาณให้เปลี่ยนท่าสลับกัน ฯลฯ 3) การกระโดด ตัวอย่างกิจกรรม เช่น - ให้เด็กกระโดดขาเดียวไปรอบๆ บริเวณ โดยสลับขาบ้าง ให้เหวี่ยงแขน ขยับไหล่ หรือขยับ ร่างกายส่วนอื่นไปด้วย แนวทางการประเมิน 1. สังเกตการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย 2. สังเกตการทำท่าทางแปลกใหม่ ไม่ซ้ำกัน 3. สังเกตการทำท่าทางตามคำสั่งและข้อตกลง 4. สังเกตการแสดงออก 5. สังเกตความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรม ข้อเสนอแนะ 1.ควรเริ่มกิจกรรมจากการเคลื่อนไหวที่เป็นอิสระและมีวิธีการที่ไม่ยุ่งยากมากนัก เช่น ให้เด็กได้กระจายอยู่ภายในห้อง หรือบริเวณที่ฝึก และให้เคลื่อนไหวไปตามธรรมชาติของเด็ก 2.ควรให้เด็กได้แสดงออกด้วยตนเองอย่างอิสระและเป็นไปตามความนึกคิดของเด็กเอง ผู้เลี้ยงดูไม่ควรชี้แนะ 3.ควรเปิดโอกาสให้เด็กคิดหาวิธีเคลื่อนไหวทั้งที่ต้องเคลื่อนที่และไม่ต้องเคลื่อนที่ เป็นรายบุคคล เป็น คู่ เป็นกลุ่ม ตามลำดับ และกลุ่มไม่ควรเกิน 5-6 คน 4.ควรใช้สิ่งของที่อยู่ใกล้ตัวเด็ก เศษวัสดุต่างๆ เช่น กระดาษหนังสือพิมพ์ เศษผ้า ท่อนไม้ เข้ามา ช่วยในการเคลื่อนไหวและให้จังหวะ 5.ควรกำหนดจังหวะสัญญาณนัดหมายในการเคลื่อนไหวต่างๆ หรือเปลี่ยนท่า หรือหยุดให้เด็กทราบ เมื่อทำกิจกรรมทุกครั้ง 6.ควรสร้างบรรยากาศอย่างอิสระ ช่วยให้เด็กรู้สึกอบอุ่น เพลิดเพลิน และรู้สึกสบายและสนุกสนาน 7.ควรจัดให้มีเกมการเล่นบ้างนานๆ ครั้ง เพื่อช่วยให้เด็กสนใจมากขึ้น 8.กรณีเด็กไม่ยอมเข้าร่วมกิจรรม ผู้เลี้ยงดูเด็กไม่ควรใช้วิธีบังคับ ควรให้เวลาและโน้มน้าวให้เด็ก สนใจเข้าร่วมกิจกรรมด้วยความสมัครใจ 9.หลังจากเด็กได้ออกกำลังเคลื่อนไหวร่างกาย แล้วต้องให้เด็กพักผ่อน โดยอาจให้นอนเล่น บนพื้นห้อง นั่งพักหรือเล่นสมมติเป็นตุ๊กตา อาจเปิดเพลงจังหวะช้าๆ เบาๆ ที่สร้างความรู้สึกให้เด็กอยากพักผ่อน |
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น