ปัจจุบันอาหารสำเร็จรูปสำหรับริโภคมีมากมายในตลาด ซึ่งผู้ผลิตคำนึงถึงความสะดวกของผู้บริโภคเป็นหลัก สามารถเก็บไว้ได้นานเป็นเดือน เป็นปี ในทุกอุณหภูมิ มีรสชาติถูกปากผู้บริโภค ผู้ผลิตได้โฆษณาชวนเชื่อ เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความเชื่อว่า อาหารนั้นๆดี มีคุณค่า อร่อย ทันสมัย หากผู้บริโภคหลงเชื่อโดยมิได้ไตร่ตรอง หรือขาด ความรู้ด้านโภชนาการ ก็จะรับประทานอาหารนั้นจนลืมคิดไปว่าการที่จะทำให้อาหารนั้นๆ คงสภาพความอร่อย ความหอม ความมัน ความหวาน คงสีสันไว้ได้ตลอด ต้องอาศัยสารเคมีช่วยในการปรุงแต่งรูป รส กลิ่น และสี ให้คงเดิม วัตถุที่มีผสมอยู่ในอาหารเหล่านี้ เมื่อเข้าสู่ร่างกาย หรือเมื่อมีการสะสมก็จะเป็นอันตรายแก่เด็กได้
เด็กปฐมวัยจึงเป็นเป้าหมาย เป็นตลาดอันสำคัญยิ่งของผู้ผลิตเหล่านี้ เนื่องจากเด็กยังไม่มี ข้อมูลเพียงพอที่จะตัดสินใจเองได้ จึงมักเชื่อตามโฆษณาและความนิยมของเพื่อนๆ เป็นความจำเป็นอย่างยิ่งยวด ที่ผู้เลี้ยงดูเด็กจะต้องตระหนักถึงพิษภัยร้ายกาจของอาหารเหล่านี้ โดยร่วมมือกับพ่อแม่ผู้ปกครองช่วยกัน ให้ความรู้แก่เด็ก และไม่จัดอาหารเหล่านี้ให้แก่เด็ก เพื่อป้องกันโรคภัยไข้เจ็บที่จะตามมา
สิ่งที่ผู้ผลิตตั้งใจใส่ในอาหารสำเร็จรูปเหล่านี้ เราเรียกว่า “วัตถุเจือปนอาหาร” เช่น กรดน้ำส้ม สารให้ความหวาน สีผสมอาหาร ผงชูรส เป็นต้น
ส่วนวัตถุที่พบปะปนหรือสารเคมีผู้ผลิตไม่ได้ตั้งใจใส่ในอาหารเหล่านี้ เรียกว่า “วัตถุปนเปื้อน” เช่น ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง เป็นต้น
สารเคมีที่ผู้ผลิตใช้ใส่ลงในอาหารมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. การใช้วัตถุกันเสีย
2. การใช้วัตถุกันหืน
3. การเพิ่มสีสันให้น่าสนใจ
4. การปรุงแต่งกลิ่น รสอาหาร
1. การใช้วัตถุกันเสีย
อาหารสำเร็จรูปจะต้องมีคุณสมบัติที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การเก็บไว้ได้นานโดยไม่เสีย ดังนั้น ผู้ผลิตจึงจำเป็นต้องยับยั้งการเกิดจุลินทรีย์และแบคทีเรียในอาหาร ที่จะทำปฏิกริยาให้เกิดการบูดเน่า โดยใช้วัตถุกันเสีย เช่น กรดเบนโซอิก น้ำเชื่อม อาหารหมักดอง เป็นต้น บางครั้งใช้กรดซอร์บิคยับยั้งการเติบโตของ ยีสต์และราในเนยเทียม แป้งเค้ก ในไนไตรท์และไนเตรทป้องกันการเน่าเสียของผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ทุกชนิด เช่น ไส้กรอก เนื้อต่างๆ
2. การใช้วัตถุกันหืน
วัตถุกันหืน จะใส่ในอาหารประเภทแป้ง ไขมัน และโปรตีนที่เมื่อถูกออกซิเจนนานๆ จะเกิดกลิ่นหืน รสของอาหารเปลี่ยนไป วัตถุกันหืนจะเข้าไปขวางการเกิดกลไกของอาหารจะใส่ในอาหารที่ได้จากธัญพืช มันฝรั่ง บะหมี่ สำเร็จรูป หมากฝรั่ง โดนัท อาหารที่ผ่านการทอด เช่น มันฝรั่งกรอบ แป้งทอดกรอบรสต่างๆ
3. การเพิ่มสีสันให้น่าสนใจ
การเพิ่มสีสันให้น่าสนใจ เพื่อให้อาหารมีลักษณะเป็นที่น่าสนใจของผู้บริโภคและเพิ่มความสวยงาม ในอาหารสำหรับเด็ก จะยิ่งใช้สีสันเพื่อล่อตาเด็ก การใช้สีผสมอาหาร มีตั้งแต่ใส่ในเครื่องดื่มหรืออาหารที่ไม่มีสีให้มีสีสัน เช่น เครื่องดื่มผง รสต่างๆ ไอศกรีม แยม เยลลี่ อาหารว่างประเภทกรุบกรอง ลูกกวาดสีต่างๆ ไส้กรอก น้ำเชื่อมสีต่างๆ อาจ แบ่งชนิดสีผสมอาหารออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1) สีธรรมชาติที่ได้จากพืชหรือสัตว์
เป็นสีที่ต้องมีกรรมวิธีในการได้มา เช่น สีเขียวจากการคั้นน้ำ ใบเตย สีม่วงและสีน้ำเงินจากกลีบดอกอัญชัญ สีแดงจากดอกกระเจี๊ยบหรือครั่ง สีเหลืองจากขมิ้น สีเหล่านี้ ไม่มีอันตราย แต่ต้องเสียเวลาในการทำขึ้นมาใช้เอง ไม่เป็นที่นิยมใส่ในอาหารสำเร็จรูปที่ต้องเก็บไว้นาน เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงทางเคมี
2) สีสังเคราะห์
ได้จากการสังเคราะห์สารเคมีจะมีสีสดกว่าและให้สีสม่ำเสมอ รวมทั้งสามารถ ใช้ได้อย่างสะดวกกว่า มีการเปลี่ยนแปลงทางเคมีน้อยมาก ในการใช้ต้องใช้ในปริมาณที่กำหนดอย่งเครี่งครัด ห้ามใช้ในอาหารสำหรับเด็กทารกทุกชนิด และอาหารเสริมสำหรับเด็ก แต่ปัจจุบันพ่อแม่หรือผู้ปกครองรู้ เท่าไม่ถึงการณ์ มักจะจัดหาอาหารที่ใส่สีสังเหคระห์ให้เด็ก โดยยึดความสะดวกสบายและหลงเชื่อในโฆษณา ทำให้เด็กปฐมวัยได้รับสีสังเคราะห์เหล่านี้ปริมาณมากในแต่ละวันต่อเนื่องกันในระยะเวลานาน
4. การปรุงแต่งกลิ่น รสอาหาร
อาหารสำเร็จรูปบางครั้งอาจผลิตขึ้นมาเลียนแบบอาหารที่มาจากธรรมชาติ เช่น เยลลี่กลิ่นรสต่างๆ แต่เดิมเยลลี่จะไม่มีรสไม่มีกลิ่น แต่เพื่อดึงดูความสนใจของเด็กผู้ผลิตก็จะเติมกลิ่นหรือรสต่างๆ ที่ต้องการเป็นที่ ถูกใจของผู้บริโภค สามารถแบ่งสารปรุงแต่กลิ่นรสอาหารได้ 2 ประเภท
1) สารปรุงแต่งกลิ่นรสที่ได้จากธรรมชาติ
เช่น เครื่องเทศต่างๆ พริก น้ำมันหอมระเหยจากพืช เช่น เบปเปอร์มิ้นต์ หรือสารละลายกลิ่นรสที่ได้จากการผ่านแอลกอฮอล์ เช่น สารสกัดวานิลา สารสกัดจากส้ม สารปรุงแต่งจากพืชเหล่านี้จะไม่มีอันตรายหากใช้ในปริมาณที่จำกัด และมีความเข้มข้นของกลิ่นและรสค่อนข้างอ่อน
2) สารปรุงแต่งกลิ่นรสที่ได้จากการสกัดจากสารเคมี
จะเป็นการใช้กรรมวิธีทางเคมีในการ สังเคราะห์ขึ้นมาจากสารเคมีต่างๆ เป็นที่นิยมเพราะมีความเข้มข้นของกลิ่นและรสตามความต้องการ และไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาก เมื่อต้องการเก็บไว้ในระยะเวลานานๆ แต่ต้องใช้ในปริมาณที่จำกัด เนื่องจากเป็นสารเคมี หากผู้ผลิตไม่ระมัดระวังหรือไม่คำนึงถึงข้อนี้ อาจเกิดการสะสมของสารเคมีในปริมาณ ที่มากเกินไปจนส่งผลเสียต่อร่างกายของเด็กได้ เช่น
กลิ่นควันไฟในไส้กรอกต่างๆ
กลิ่นรสในลูกกวาดต่างๆ เช่น การสังเคราะห์ที่ให้ความหวานในลูกกวาด หรือน้ำผลไม้ไม่ใส่สี เยลลี่
สารเหล่านี้ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ ผู้ผลิตจะใส่เพื่อเพิ่มความหวานโดยใช้สารเคมีชื่อแซคคารีน มีลักษณะเป็นผลึกสีขาว ไม่มีกลิ่น มีรสหวาน ในการสังเกคราะห์จะมีสารประเภทโลหะเจือปนอยู่ เมื่อนำมาใส่ในอาหารเพื่อเพิ่มความหวาน จะเร่งให้อาหาร บูดเสีย โดยมีจุลินทรีย์เร็วขึ้น ผู้ผลิตจำต้องเพิ่มปริมาณวัตถุกันเสียมากยิ่งขึ้น
สารปรุงแต่งรสที่สำคัญอีกประเภทหนึ่ง คือ สารชูรสที่เราเรียกว่า "ผงชูรส” สารชูรส หมายถึง สารเคมีที่เติมลงไปในอาหารแล้วสามารถเสริมกลิ่นรสของอาหารเดิมให้ดีขึ้น รู้จักกันในชื่อของผงชูรส ชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า “โมโนโซเดียมกลูตาเมต” ซึ่งผลิตมาจากน้ำตาลหรือแป้ง